สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
พีระมิดเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลม ปริมาตรของพีระมิดเท่ากับหนึ่งในสามของผลคูณระหว่างพื้นที่ฐานกับความสูง
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ : มาตรฐาน ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ตัวชี้วัด : ค 2.1 ม.3/2 หาปริมาตรของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม
จุดประสงค์การเรียนรู้ (K)
1. อธิบายสิ่งที่เท่ากันของปริซึมกับพีระมิด
ทักษะกระบวนการ (P)
1. หาความสัมพันธ์ของปริมาตรของปริซึมกับปริมาตรของพีระมิดได้
2. เชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการหาปริมาตรของพีระมิดได้
สาระการเรียนรู้
- ปริมาตรของปริซึม= พื้นที่ฐาน x สูง
- ปริมาตรของพีระมิด= 1/3 x พื้นที่ฐาน x สูง
- ความสัมพันธ์ของปริมาตรปริซึมกับปริมาตรของพีระมิด
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่างสมเหตุสมผล
2. รับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำสู่กระบวนการเรียนรู้
- ครูนำเข้าสู่ชั้นเรียนด้วยการทบทวนความรู้เดิมเรื่องการหาปริมาตรของปริซึม เพื่อเตรียมนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
ขั้นจัดกระบวนการเรียนรู้
ช่วงที่ 1
ครูนำเสนอปัญหาที่ 1
รูปทรงทั้งสองมีสิ่งใดที่เท่ากัน
การนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
ครูถามนักเรียนว่า สำหรับสถานการณ์ปัญหานี้ รูปทรงทั้งสองมีสิ่งใดที่เท่ากัน
รูปทรงทั้งสองมีสิ่งใดที่เท่ากัน
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
นักเรียนทำการหาสิ่งที่เท่ากันของรูปทรงทั้งสองและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนในชั้นเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
นักเรียนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นแนวคิดของตนและทำการอภิปรายในชั้นเรียน
ช่วงที่ 2
ครูนำเสนอสถานการณ์ที่ 2
ปริมาตรเท่ากันไหม
นำเสนอสถานการณ์ปัญหา
ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่ 2 และให้นักเรียนหาปริมาตรรูปทรงทั้งสองเท่ากันไหม
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
นักเรียนทำการเปรียบเทียบปริมาตรของรูปทรงทั้งสองและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนในชั้นเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
นักเรียนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นแนวคิดของตนและทำการอภิปรายในชั้นเรียน
ช่วงที่ 3
ครูนำเสนอสถานการณที่ 3
ปริมาตรของรูปทรงทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างไร
นำเสนอสถานการณ์ปัญหา
ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่ 3 และให้นักเรียนหาความสัมพันธ์ของปริมาตรรูปทรงทั้งสอง
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
นักเรียนทำการหาความสัมพันธ์ของปริมาตรรูปทรงทั้งสองและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนในชั้นเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
นักเรียนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นแนวคิดของตนและทำการอภิปรายในชั้นเรียน
ขั้นสรุป
การสรุปเพื่อเชื่อมโยงแนวคิด
ครูทำการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนเพื่อสรุปเป็นแนวคิดในชั้นเรียน
ตรวจสอบเครื่องมือของนักเรียน
ครูนำเสนอโจทย์ปัญหา และให้นักเรียนทำการหาปริมาตรของพีระมิด เพื่อวัดผลและประเมินผล
ขั้นประยุกต์ใช้องค์ความรู้
- ครูนำเสนอสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการเรียนรู้สู่การแก้โจทย์
- นักเรียนทำแบบทดสอบหลังการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
กระบวนการสนับสนุนและกระตุ้นการเรียนรู้/การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- ครูทบทวนความรู้เรื่องการหาปริมาตรของปริซึม
ช่วงที่ 1
การนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
- ครูแนะนำอุปกรณ์ (ปริซึม,พีระมิด)
- ครูติดสถานการณ์ปัญหาที่ 1 รูปทรงทั้งสองมีสิ่งใดที่เท่ากันนะ
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
- นักเริ่มทำการหาสิ่งที่เท่ากันของรูปทรงทั้งสองจากอุปกรณ์ที่ครูให้
- ครูคอยกระตุ้นด้วยการคอยทบทวนเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาเพื่อชักนำให้นักเรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการหาสิ่งที่เท่ากันของรูปทรงทั้งสอง
- ครูนำเสนอแนวคิดของนักเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
- เมื่อนักเรียนทำการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนแล้ว ครูเริ่มทำการให้นักเรียนอภิปรายเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อลดขอบเขตของปัญหาที่นักเรียนเจอ
- ครูชักนำนักเรียนให้เห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาเพื่อหาสิ่งที่เท่ากันของรูปทรงทั้งสอง จากแนวคิดของนักเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่เท่ากันของรูปทรงทั้งสองที่ครูให้
ช่วงที่ 2
ปริมาตรเท่ากันไหม
นำเสนอสถานการณ์ปัญหา
ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่ 2 ครูถามนักเรียนว่าปริมาตรรูปทรงทั้งสองเท่ากันไหมนะ?
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
- นักเรียนเริ่มทำการเปรียบเทียบปริมาตรของรูปทรงทั้งสองจากอุปกรณ์ที่ครูให้
- ครูคอยกระตุ้นด้วยการคอยทบทวนเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาเพื่อชักนำให้นักเรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง
- ครูนำเสนอแนวคิดของนักเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
- เมื่อนักเรียนทำการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนแล้ว ครูเริ่มทำการให้นักเรียนอภิปรายเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อลดขอบเขตของปัญหาที่นักเรียนเจอ
- ครูชักนำนักเรียนให้เห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาเพื่อเปรียบเทียบปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง จากแนวคิดของนักเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมสรุปผลที่ได้จากการเปรียบเทียบปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง
ช่วงที่ 3
ปริมาตรของรูปทรงทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างไร
นำเสนอสถานการณ์ปัญหา
- ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่ 3 ครูถามนักเรียนว่า ปริมาตรของรูปทรงทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างไร
- ครูคอยกระตุ้นด้วยการคอยทบทวนเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาเพื่อชักนำให้นักเรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการ
ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง
- นักเรียนเริ่มหาความสัมพันธ์ของปริมาตรรูปทรงทั้งสองจากอุปกรณ์ที่ครูให้
- ครูคอยกระตุ้นด้วยการคอยทบทวนเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาเพื่อชักนำให้นักเรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการหาความสัมพันธ์ปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง
- ครูนำเสนอแนวคิดของนักเรียน
การอภิปรายในชั้นเรียน
- เมื่อนักเรียนทำการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนแล้ว ครูเริ่มทำการให้นักเรียนอภิปรายเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อลดขอบเขตของปัญหาที่นักเรียนเจอ
- ครูชักนำนักเรียนให้เห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาเพื่อหาความสัมพันธ์ปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง จากแนวคิดของนักเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมสรุปผลที่ได้จากการหาความสัมพันธ์ปริมาตรของรูปทรงทั้งสอง
การสรุปเพื่อเชื่อมโยงแนวคิด
- ครูให้นักเรียนช่วยกันทบทวนแล้วสรุปความรู้ออกเป็นข้อ ๆ
- ครูเน้นความสำคัญของ
ตรวจสอบเครื่องมือของนักเรียน
Find the wolume of the pyramid
ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายสถานการณ์จากคลังข้อสอบ ทรูปลูกปัญญา เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
การวัดผลและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ |
วิธีการวัด |
เครื่องมือวัด |
เกณฑ์การประเมิน |
ความรู้ (K)
1. อธิบายสิ่งที่เท่ากันของปริซึมกับพีระมิดได้ |
- ตรวจใบงาน
- ทดสอบ |
- ใบงาน
- แบบทดสอบ |
ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม |
ทักษะกระบวนการ (P)
1. หาความสัมพันธ์ของปริมาตรของปริซึมกับปริมาตรของพีระมิคได้
2. เชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการหาปริมาตรของพีระมิดได้ |
- ตรวจใบงาน
- ทดสอบ |
- ใบงาน
- แบบทดสอบ |
ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1. สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่างสมเหตุสมผล
2. รับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล |
- สังเกตพฤติกรรม |
- แบบสังเกตพฤติกรรม |
ระดับดีขึ้นไป |
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
- สื่อติดกระดาน
- สื่อ ทรูปลูกปัญญา เรื่อง การหาปริมาตรของปริซึม โดยครูเปิดผ่านจอ TV
- บัตรสถานการณ์
- บัตรภาพ
- ปริซึม
- พีระมิด
- ทราย
- สถานการณ์ปัญหา จากสื่อ ทรูปลูกปัญญา โดยครูเปิดผ่านจอ TV
- โจทย์ปัญหา จากสื่อ ทรูปลูกปัญญา เรื่อง เราสามารถหาปริมาตรของพีระมิดได้ด้วยสูตรไหนคะ : อยากรู้ถามทรูปลูกปัญญา โดยครูเปิดผ่านจอ TV
- ข้อสอบ O-Net จากสื่อ ทรูปลูกปัญญา
- สถานการณ์ข้อสอบ O-Net จากสื่อ ทรูปลูกปัญญา
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก
trueplookpanya.com